Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
อันตรายร้ายแรงของอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ เกิดจากรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งอาจพบมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนโดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียถ่ายเหลวตามมา
สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการ 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน)
มีไข้ ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น
ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา
อาหารเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษอาหารสด สุก ๆ ดิบ ๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัด
อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง ที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม
อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน
อาหารที่มีแมลงวันตอม
อาหารที่ปรุงสุกตั้งแต่เช้า โดยไม่มีการอุ่นร้อน
อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษปกติสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการคือ รับประทานเกลือแร่ทดแทนและยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
งดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหรสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง
พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ งดการทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านหนัก ๆ
ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ animadresse.com
Economy
-
ธปท.ยันเกณฑ์คุมสินเชื่ออสังหาฯยังจำเป็น
ธปท.ยันเกณฑ์คุมสินเชื่ออสังหาฯยังจำเป็น โชว์ข้อมูลไม่กระทบตลาด
ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์แล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ มาตรการ loan-to-value ratio (LTV) ซึ่งได้ปรับเกณฑ์ผ่อนคลายไปแล้ว 2 ครั้ง ยังมีความจำเป็นและเหมาะสม
ธปท.ระบุว่าประชาชนที่ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงยังสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้โดยเฉพาะบ้านหลังแรก อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์
ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เรียกร้องให้ธปท.ยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นตลาดอังหาฯที่ซบเซาจากผลกระทบโควิด-19
นางนวอร เดชสุวรรณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ธปท. ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ออกมาตรการ LTV เมื่อเดือนเมษายน 2562 และพร้อมปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ที่ผ่านมาได้มีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV แล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ การผ่อนปรนเกณฑ์สำหรับผู้กู้ร่วม และการซื้อบ้านหลังแรกราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทสามารถกู้ได้เท่ากับราคาบ้านและยังสามารถกู้เพิ่มได้อีกร้อยละ 10 เพื่อใช้เป็นค่าตกแต่ง หรือซ่อมแซม ส่วนบ้านหลังที่สองก็กู้ได้ถึงร้อยละ 90 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ธปท. ที่ส่งเสริมให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
จากข้อมูลของ ธปท. พบว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2 ปีนี้
ยังขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 สูงกว่าไตรมาสก่อน แม้จะอยู่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการซื้อบ้านหลังแรก สะท้อนว่า มาตรการ LTV ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ซื้อบ้านและสถาบันการเงินยังมีการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มเติมหากผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระ
รวมทั้ง มาตรการ LTV ยังช่วยรองรับผลกระทบของโควิด 19 ที่มีต่อภาคอสังหาริมทรัพย์และระบบเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากช่วยชะลอความต้องการเทียมและปริมาณที่อยู่อาศัยส่วนเกินก่อนเหตุการณ์ระบาดของโควิด 19
ทั้งนี้ ในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและไม่รู้ว่าโควิด 19 จะจบลงเมื่อใด ธปท. จะยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
ขอบคุณแหล่งที่มา : businesstoday.co
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : animadresse.com
Latest News
สล็อต เว็บตรง ยุโรป สอนมือใหม่ ควรเริ่มเล่นพนันยังไง?
คู่มือเบื้องต้น สล็อต เว็...
สาเหตุที่ ‘การเป็นลูกชายของ Eubank เท่านั้นที่ทำให้ผมกลัว’
Chris Eubank Jr พูดถึงสาเ...
ถึงเวลายกเครื่อง?คาร์ร่าชี้ลิเวอร์พูลชุดนี้ไม่ใช่ทีมสไตล์คล็อปป์
เจมี่ คาร์ราเกอร์ ระบุ ลิ...